#ดื่มชาอะไรดี ชาที่คนนิยมดื่มจากทั่วทุกมุมโลก ดื่มแล้วลดชื่น
ดื่มชาอะไรดี ชาที่คนนิยมดื่มจากทั่วทุกมุมโลก ดื่มแล้วลดชื่น ผลที่เกิดจากการหมักนอกจากเรื่องสีแล้ว ซึ่งเกิดจากการมีสาร tannin Polyphenols
#ดื่มชาอะไรดี
– เด็กๆไม่ควรดื่มน้ำชากาแฟ… ดื่มชาแล้วท้องผูก… ชาเขียวดื่มแล้วลดชื่น …กินติ๋มซำ กินของมันๆ ดื่มชาจะดี ดับมัน… ดื่มชาแล้วชุ่มคอ ….. เรื่องราวเกี่ยวกับชา มีมากมาย ชื่อของชาก็มีมากมาย ที่ได้ยินกันบ่อยๆ ก็คือ ชาเขียว ชาอูหลง ชาจีน ชาEnglish breakfast ฯลฯ แล้วจริงๆ เราควรดื่มชาอะไรดี
– ถ้าไม่นับชา ผลไม้ หรือ ชาสมุนไพรต่างๆ พูดกันเฉพาะชา ที่มาจากต้นชาจริงๆ 茶 Camellia sinensis. ก็มีมากมาย … ต้นชา มีแหล่งปลูกอยู่ที่ จีนตอนใต้ เอเชียอาคเนย์ อินเดีย ส่วนที่มีชาในอังกฤษ เพราะ นำไปจากอินเดีย… การเรียกชื่อชา ที่เราเคยได้ยิน มีวิธีการเรียกหลายแบบ กลุ่มหนึ่งเรียกตามวิธีการเตรียมใบชา เช่น ชาเขียว ชาขาว ชาอูหลง อีกกลุ่มหนึ่ง เรียกตามพันธุ์ของชา แหล่งปลูกและสูตรผสม เช่น ชาหลงจิ่ง ชาเจียวกู่หลาน ชาDarjaring ชาEarl Grey ฯลฯ
– ชาส่วนใหญ่จะมีส่วนของน้ำมันหอมระเหยที่ทำให้มีกลิ่นหอมเฉพาะ และ ชาเกือบทุกชนิดจะมีส่วนผสมของ คาเฟอีน คล้ายกาแฟ จึงทำให้เวลาดื่มแล้วรู้สึกสดชื่น แต่จะมี คาเฟอีน มากน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่กับ พันธุ์ของชา ฤดูและเวลาที่เก็บ วิธีการเตรียบใบชา และ การชง(ชงที่อุณหภูมิของน้ำ 85 องศา จะมีคาเฟอีนออกมามากที่สุด) …. ชาสีเข้ม ไม่ได้แปลว่ามี คาเฟอีนมากกว่าชาเขียว หรือ ชาขาว… ชาสีเข้ม เกิดจากขั้นตอนการนำชา ไปหมัก ให้เกิดการเปลี่ยนแปลง oxidation คือให้สารเคมีในชาสัมผัสทำปฏิกริยากับ ออกซิเจน ยิ่งมีช่วงของการทำปฏิกริยานาน จะยิ่งมีสีเข้มขึ้น ส่วนในกลุ่ม ชาเขียว ชาชาว และ ชาเหลือง จึงเป็นชาที่เตรียมโดยไม่ได้หมัก จึงไม่มีสีเข้มเหมือนชาอูหลง และ ชาดำ หรือ ชาแดง
– ผลที่เกิดจากการหมักนอกจากเรื่องสีแล้ว ยังมีความมีรสฝาดของชา ซึ่งเกิดจากการมีสาร tannin(Polyphenols) จากปฏิกริยา oxidation ชาสีเข้มจึงมีรสฝาด และ ทำให้ท้องผูก
– ส่วนชาจะมีรสชาติกลมกล่อมแค่ไหน ก็ขึ้นอยู่กับ พันธุ์ แหล่งปลูก และ วิธีเตรียม ว่าสามารถเก็บรักษารสชาติของชาได้ดีแค่ไหน ต้อง ศึกษา และจดจำกันเลยทีเดียว เหมือนคนดื่มเหล้า ดื่มไวน์ ดื่มกาแฟ อย่างไรอย่างนั้น… แต่ถ้าดื่มชาสีเข้ม จะมีรสฝาด และติดในลำคอ รวมถึงท้องผูกได้ครับ ดูน้อยลง
ขอขอบคุณข้อมูล : บันทึกเรื่องน่ารู้ by Dr.Adune
ติดตามเนื้อหาดีๆแบบนี้ได้ที่ :