สัญญารัก “สมเด็จพระสุพรรณกัลยา-พระเจ้าบายินอง ครองคู่สู่นิพพาน

ช่วยแชร์ด้วยนะคะ

เพื่อเทิดพระเกียรติและสดุดีคุณงามความดีถวายแด่ “สมเด็จพระสุพรรณกัลยา” พระองค์ทรงเสียสละเพื่อแผ่นดินไทย เพื่อน้องกู้ไทยกลับคืนมา

“พระสุพรรณกัลยา” พระนามเดิม คือ องค์ทอง เป็นพระราชธิดาใน สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช และ พระวิสุทธิกษัตรีย์ และเป็นพระพี่นางในสมเด็จพระนเรศวรมหาราช และ สมเด็จพระเอกาทศรถ ประสูติเมื่อวันที่ ๑๓ เดือนมีนาคม (เดือน ๔) ปีพุทธศักราช ๒๐๙๖ ตรงกับวันศุกร์ แรม ๓ ค่ำ ปีชวด ประสูติ ณ พระราชวังจันทน์ เมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก

พระสุพรรณกัลยาเป็นพระมเหสีของ “พระเจ้าบุเรงนอง” หรือชาวมอญเรียกว่า “บายินอง” พระมหากษัตริย์แห่งหงสาวดี พระเจ้าบุเรงนองทรงโปรดปรานพระสุพรรณกัลยาเป็นอย่างมาก โดยทรงจัดให้สร้างตำหนักทรงไทยขึ้นในพระราชวังกรุงหงสาวดี

พระสุพรรณกัลยาทรงรักกันมากกับพระเจ้าบายินอง จึงเกิดสัญญารักของทั้งสองพระองค์ขึ้น เป็นสัญญารักที่พระเจ้าบุเรงนองสัญญากับพระสุพรรณกัลยา ว่าจะพากันไปนิพพาน ซึ่งการจะเข้าสู่นิพพานกันได้นั้น จะต้องเกิดความความรักกันมาก สัญญานั้นจึงเป็นสัญญารักของทั้งสองพระองค์ คือ “สัญญารักเข้าสู่นิพพาน”

ชาวหงสาวดียกย่องพระเจ้าบุเรงนองในฐานะ “วีรกษัตริย์นักบุญ” ด้วยทรงอุปถัมภ์และช่วยทำนุบำรุงพุทธศาสนาให้รุ่งเรือง ซึ่งปรากฏหลักฐานคือ เจดีย์สำคัญๆ เกือบทุกแห่งที่ได้รับการปฏิสังขรณ์ใหม่จนดูวิจิตรงดงาม เช่น เจดีย์ชเวสิกอง และเจดีย์ชเวดากอง เป็นต้น ทั้งยังมีหลักฐานบันทึกไว้ว่าทรงเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาเป็นอย่างยิ่ง

เรื่องราวประวัติศาสตร์เกี่ยวกับสมเด็จพระสุพรรณกัลยา พงศาวดารของไทยกับพม่า บันทึกเรื่องราวของพระองค์ มีความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง โดยเฉพาะกรณีการสิ้นพระชนม์ หลักฐานของไทย ระบุไว้ว่า พระสุพรรณกัลยากับพระราชธิดา ถูกพระแสงของพระเจ้าหงสาวดีฟัน สิ้นพระชนม์ทั้ง 2 พระองค์ แต่หลักฐานของพม่า กลับไม่ปรากฏการสิ้นพระชนม์ของพระสุพรรณกัลยา ยังบันทึกไว้ว่า พระสุพรรณกัลยาและเจ้าหญิงพิษณุโลกนั้น ทรงประทับในนครอังวะอย่างปกติสุข จนกระทั่งสิ้นพระชนม์ โดยมิได้ถูกปลงพระชนม์แต่อย่างใด

ในช่วงรัชสมัยของพระเจ้าบุเรงนองนั้น พระสุพรรณกัลยาทรงพระเกษมสำราญ มีทุกอย่างเพียบพร้อม บ่าวไพร่ก็เป็นคนไทยหมด ฐานะยศตำแหน่ง ก็เป็นพระมเหสี และยังมีพระตำหนักกับฉัตรส่วนพระองค์อีกด้วย ภายหลังจากที่พระเจ้าบุเรงนองสวรรคต เมื่อปีพ.ศ. 2124 พระเจ้านันทบุเรงขึ้นครองราชย์แทน ภายหลังจากที่พระมหาอุปราชามังกะยอชวาสิ้นพระชนม์ ในปีพ.ศ. 2135 จากการทำยุทธหัตถี กับสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ซึ่งการสิ้นพระชนม์นั้น ในพงศาวดารรวมถึงคำให้การต่างๆ ทั้งของไทยและพม่า ต่างก็ให้ข้อมูลแตกต่างกันออกไปเกี่ยวกับการสิ้นพระชนม์ของพระสุพรรณกัลยา แต่อย่างไรก็ตาม หลักฐานของไทยและพม่าได้แสดงความมีตัวตนของพระสุพรรณกัลยา และประทับอยู่ในหงสาวดีตั้งแต่ในปี พ.ศ. 2112 ขณะมีพระชันษาได้ 16 พรรษา ดังนั้นในปี พ.ศ. 2135 ที่เกิดยุทธหัตถี พระองค์จึงน่าจะมีพระชันษาประมาณ 39-40 ปี

เรื่องราวข้อเท็จจริงที่ไม่มีใครรู้ว่าตลอดระยะเวลาของสมเด็จพระสุพรรณกัลยา ที่ประทับในพระราชวังกัมโพชะสาดี เมืองหงสาวดีนั้น นับเป็นช่วงเวลาที่ดี และพระองค์ทรงพระเกษมสำราญมากที่สุด แม้ว่าจะไม่ได้ทรงพบพระสวามีอยู่เนืองๆ ด้วยเหตุว่าพระสวามีมักจะทรงภารกิจ ประทับในสนามรบเสียเป็นส่วนใหญ่ แต่พระสุพรรณกัลยา ท่านก็ทรงพระเกษมสำราญ และพระองค์ไม่ได้เป็นเชลยตามประวัติศาสตร์หลักฐานของไทยที่นำเสนอผิดๆมาโดยตลอด ซึ่งในความเป็นจริงนั้น พระสุพรรณกัลยาเป็นพระมเหสีของพระเจ้าบายินอง ก็เนื่องด้วยการเป็นพระสัมพันธวงศ์ที่ดีต่อกันของทั้งสองประเทศ หาใช่เป็นตัวประกัน หรือ เชลย ไม่!

เรื่องราวของพระสุพรรณกัลยาที่ประวัติศาสตร์ไม่เคยมีใครกล่าวถึงเลย นั่นก็คือ อันว่าด้วยความรักของพระองค์กับพระเจ้าบายินอง หรือ พระเจ้าบุเรงนอง น้อยคนนักจะได้รู้ความจริงว่า แท้จริงแล้ว ทั้งสองพระองค์ มีความรักให้แก่กันอย่างมากมาย ทรงครองรักกันอย่างหวานซึ้ง และมีความสุขพระเกษมสำราญทั้งสองพระองค์ ตลอดระยะเวลาที่ประทับอยู่หงสาวดี พระเจ้าบายินอง พระองค์ทรงโปรดปรานพระสุพรรณกัลยาเป็นอย่างมาก โดยทรงจัดให้สร้างตำหนักทรงไทยขึ้นในพระราชวังกรุงหงสาวดีเลยทีเดียว
ความรักที่ทั้งสองพระองค์มีให้แก่กันมากนี้ จึงเกิดเป็นสัญญารักที่มอบให้แก่กัน เป็นสัญญารักที่พระเจ้าบุเรงนองสัญญากับพระสุพรรณกัลยา ว่าจะพากันไปนิพพาน ซึ่งการจะเข้าสู่นิพพานกันได้นั้น จะต้องเกิดจากความรักกันมาก เป็นคู่บุญคู่บารมีกัน ทรงเป็นเนื้อคู่แท้ที่ร่วมกันสร้างบารมีต่อกัน สัญญานั้น จึงเป็นสัญญารักของทั้งสองพระองค์ คือ “สัญญารักเข้าสู่นิพพาน”

เพราะด้วยความรักที่พระเจ้าบายินองมีต่อสมเด็จพระสุพรรณกัลยานี้ ในฐานะเป็นพระมเหสี นอกจากจะทรงให้จัดสร้างพระตำหนักและฉัตรส่วนพระองค์แล้ว พระสุพรรณกัลยายังได้รับพระราชทานเบี้ยหวัด มีทุกอย่างเพียบพร้อม เครื่องใช้สิ่งของ ข้าราชบริวารบ่าวไพร่ที่เป็นชาวไทยทั้งหมด เมื่อจะเสด็จไปยังที่ใด จะโดยเสลี่ยงหรือพระที่นั่ง หรือพระพาหนะใดก็ตาม จะมีเจ้าพนักงานกางฉัตรถวาย และพระองค์ก็ทรงอยู่อย่างพระเกษมสำราญอย่างสมพระเกียรติ ชาวหงสาวดียกย่องพระเจ้าบุเรงนองในฐานะ “วีรกษัตริย์นักบุญ” ด้วยทรงอุปถัมภ์และช่วยทำนุบำรุงพุทธศาสนาในพม่าให้รุ่งเรือง ซึ่งปรากฏหลักฐานคือ เจดีย์สำคัญๆ เกือบทุกแห่งที่ได้รับการปฏิสังขรณ์ใหม่จนดูวิจิตรงดงาม เช่น เจดีย์ชเวสิกอง และเจดีย์ชเวดากอง เป็นต้น ทั้งยังมีหลักฐานบันทึกไว้ว่าพระเจ้าบายินอง พระองค์ทรงเลื่อมใสและเคร่งครัดในหลักคำสอนพระพุทธศาสนาเป็นอย่างยิ่ง

พระเจ้าบายินอง เป็นกษัตริย์ที่ชาวหงสาวดีเคารพนับถือมากพระองค์หนึ่ง นั่นเพราะพระเจ้าบายินอง ทรงเป็นกษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ เป็นกษัตริย์นักปกครองและนักบริหารที่เก่งกาจอีกด้วย

คำว่า “บายิ” มีความหมายแปลว่า “กษัตริย์”
“นอง” แปลว่า ปัจจุบันและอนาคต จึงสรุปรวมพระนามของพระเจ้าบายินองได้ว่า เป็นกษัตริย์ตลอดกาล

นักประวัติศาสตร์ชาวพม่าบันทึกเรื่องราวของพระสุพรรณกัลยาและพระเจ้าบุเรงนองว่า เมื่อพระเจ้าบุเรงนองเสด็จสวรรคต ในวันเพ็ญขึ้น 15 เดือนพฤศจิกายน ตรงกับ พ.ศ. 2124 พระโอรสของพระเจ้าบุเรงนอง ทรงพระนามว่าพระเจ้านันทบุเรง เสด็จขึ้นครองราชย์เป็นพระเจ้าแผ่นดินพระองค์ใหม่ ยังผลให้ตำแหน่งพระมเหสีของพระสุพรรณกัลยา กลายเป็นพระชนนีทันที และข้อเท็จจริงอีกประการหนึ่งที่ไม่เคยมีใครรับรู้ความจริง ก็คือ พระสุพรรณกัลยา พระองค์ไม่เคยมีพระราชบุตร ท่านไม่เคยทรงพระครรภ์

พระสุพรรณกัลยา ทรงเป็นเฉกเช่นขัตติยนารีอีกหลายพระองค์ที่ไม่เพียงไม่ปรากฏพระนาม และพระจริยวัตรในพระราชพงศาวดาร แต่กลับมีเรื่องราวปรากฏอยู่ในหลักฐานพม่า และหลักฐานต่างชาติ และหลักฐานประเภทคำบอกเล่าที่มีความแตกต่างจากหลักฐานของไทยทุกเรื่องราวของพระองค์ พระสุพรรณกัลยา ทรงมีฐานะเป็นขัตติยนารีที่สูงด้วยฐานันดรศักดิ์อันสูงส่งกว่าผู้ใด น่าจะเป็นเหตุปัจจัยสำคัญประการหนึ่ง ที่พระเจ้าบุเรงนอง ทรงขอพระองค์ไปเป็นพระมเหสี และได้ปฏิบัติต่อพระนางอย่างสมพระเกียรติ

ด้วยพระบารมีของสมเด็จพระสุพรรณกัลยา พระองค์เป็นวีรสตรีผู้กล้าหาญ เด็ดเดี่ยว พระบารมีของพระองค์ได้ปกแผ่ คุ้มครองประเทศไทยและคนไทยให้อยู่อย่างสงบร่มเย็นเป็นสุขตลอดเรื่อยมา เปรียบพระองค์เป็นดั่งนารีขี่ม้าขาว ตามคำทำนายของ พระราชพรหมยาน หรือ “หลวงพ่อฤาษีลิงดำ” อดีตเจ้าอาวาสวัดจันทารามวรวิหาร หรือวัดท่าซุง จ.อุทัยธานี ได้ระบุไว้ว่า “จะมีหนึ่งนารีขี่ม้าขาว ควงคฑามุ่งสู่ดาวสร้างความหวัง ผู้ปกครองจะเป็นหญิงพึงระวัง สายน้ำหลั่งกรากเชี่ยวหวาดเสียวใจ ศิวิไลซ์จะบังเกิดในสยาม หลังฝนคร้ามลั่นครืนจะยืนได้ จะเข้าสู่ยุคมหาชนพาไป เปลี่ยนเมืองใหม่ศักราชแห่งประชา คนชั่วจะถูกปราบราบคาบสิ้น แผ่นดินเดือดสูญหายไร้ปัญหา ประเทศชาติผ่านวิกฤติด้วยศรัทธา ยามเมื่อฟ้าสีทอง ผ่องอำไพ”

คุณงามความดีที่พระสุพรรณกัลยามีต่อแผ่นดินสยามนี้ พระองค์ คือ นารีขี่มาขาว ควงคฑามุ่งสู่ดาวสร้างความหวัง กล่าวได้ว่า พระวิญญาณของสมเด็จพระพี่นางสุพรรณกัลยา จะพลิก และเปลี่ยนชะตาของประเทศไทยเสียใหม่ ต้องให้นารีขี่ม้าขาวเป็นผู้สะสางปัญหาของประเทศที่หมักหมมมาเนิ่นนานเกือบทศวรรษ เพื่อให้รอดพ้นวิกฤต

นับแต่นี้ไป ประเทศไทยจะเข้าสู่ยุคศิวิไลซ์ จะเจริญรุ่งเรืองยิ่งขึ้นสืบไป ในทุกๆ ด้าน และพระพุทธศาสนาจะมีความเจริญรุ่งเรือง ประเทศชาติ จะอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข มีความปลอดภัยในชีวิต ทุกภาคส่วนเกื้อกูลกันทั้งด้านเศรษฐกิจ และเทคโนโลยี ประเทศต่างๆ ทั่วโลก จะต้องอะเมซิ่งไทยแลนด์

ด้วยเหตุนี้ จึงสมควรที่จะถวายเทิดพระเกียรติแด่สมเด็จพระพี่นางสุพรรณกัลยา ยอยศพระองค์ท่าน เพื่อยกย่องเชิดชู น้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระสุพรรณกัลยาให้แพร่หลายยิ่งขึ้นสืบไป ตลอดกาลนาน

  • ขอขอบคุณภาพและบทสารคดี โดย นริศรา อ่อนเรียน
  • ช่องยูทูป: ยอยศบูรพมหากษัตราธิราชเจ้า
  • Facebook Page : ยอยศบูรพมหากษัตราธิราชเจ้า

ติดตามเนื้อหาดีๆแบบนี้ได้ที่ :


ช่วยแชร์ด้วยนะคะ