พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นขุนละหาร แหล่งเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรมชุมชน

ช่วยแชร์ด้วยนะคะ

พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นขุนละหาร แหล่งเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรมชุมชนของทายาทท่านขุน และแหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรม ให้เยาวชนรุ่นหลังได้ศึกษารากเหง้าในอดีต 

พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นขุนละหาร แหล่งเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรมชุมชนของทายาทท่านขุน

รู้จักเสน่ห์ดั้งเดิมของนราธิวาส ผ่าน 7 แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมและธรรมชาติ ตั้งแต่ในเมือง ถึงผืนป่าและทะเล

ด้วยเป้าหมายเพื่อมุ่งรักษาศิลปะ ภูมิปัญญาท้องถิ่น และแหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรม ให้เยาวชนรุ่นหลังได้ศึกษารากเหง้าในอดีต ผู้ใหญ่มิง-รัศมินทร์ นิติธรรม จึงตัดสินใจก่อตั้งพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นขุนละหาร ใน พ.ศ. 2552 และเปิดตัวเป็นทางการเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ.​ 2555 หวังสืบทอดเจตนารมณ์บรรพบุรุษ ในฐานะบุตรชายของ มนูญธรรม นิติธรรม (หลานชายคนโตของขุนละหาร) และ มีนา นิติธรรม จนนับเป็นตัวอย่างที่ดีในการเคลื่อนไหวของคนในชุมชน 

“ทั้งคุณค่าวิถีชีวิต ประวัติศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรม ฯลฯ เรื่องราวเหล่านี้เป็นอัตลักษณ์สำคัญและมีคุณค่ามาก ผมจึงตั้งใจอนุรักษ์และสืบสานวัฒนธรรมท้องถิ่น ความเป็นเอกลักษณ์ดั้งเดิมของชุมชน และมุ่งถ่ายทอดความรู้สู่ชุมชนและสังคม” รัศมินทร์ นิติธรรม บอกเล่าถึงความมุ่งมั่นตั้งใจ

9 แหล่งเรียนรู้ชีวิตและมรดกวัฒนธรรม ที่จะทำให้เข้าใจนราธิวาสมากขึ้น

ภายในพิพิธภัณฑ์แบ่งเป็น 6 ห้อง เช่น ห้องภูมิหลัง จัดแสดงเครื่องมือ เครื่องใช้ เครื่องปั้นดินเผายุคก่อนประวัติศาสตร์สมัยลังกาสุกะ ห้องเครื่องใช้ไม้สอย จัดแสดงเครื่องมือ เครื่องใช้ ของชาวมลายูในชายแดนใต้ ห้องพิธีกรรม จัดแสดงแบบประเพณี พิธีกรรมของชาวมลายูในชายแดนภาคใต้ ห้องสายน้ำ จัดแสดงวัสดุ อุปกรณ์ การประกอบอาชีพ ประมงน้ำจืด ประมงน้ำเค็ม และห้องศาสตราวุธ จัดแสดงศาสตราวุธชาวมลายูในอดีต 

รูปแบบของพิพิธภัณฑ์แห่งนี้แตกต่างจากพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นอื่น ๆ ในอดีต เพราะนอกจากจัดแสดงโบราณวัตถุแล้ว ยังจัดกิจกรรมสร้างความผูกพันกับชุมชนและกลุ่มวัฒนธรรมอื่น และแสดงองค์ความรู้ทางด้านการเปลี่ยนแปลงของท้องถิ่น เช่น ด้านการปกครอง สังคม ประเพณี ความเชื่อ และพิธีกรรม อย่างต่อเนื่อง 

9 แหล่งเรียนรู้ชีวิตและมรดกวัฒนธรรม ที่จะทำให้เข้าใจนราธิวาสมากขึ้น

ผู้มาเยือนพิพิธภัณฑ์แห่งนี้จะเข้าใจวิถีชีวิต ศรัทธาความเชื่อของผู้คน ผ่านศิลปวัฒนธรรม ประเพณี อุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ และประการสำคัญ ได้มองเห็นร่องรอยทางประวัติศาสตร์ของพื้นที่ที่เชื่อมต่อแต่ละยุคสมัย ภายใต้สายรากวัฒนธรรมมลายูได้อย่างชัดเจนขึ้น

ขอขอบคุณข้อมูล : ชุมศักดิ์ นรารัตน์วงศ์ และ the cloud

ติดตามเนื้อหาดีๆแบบนี้ได้ที่ :


ช่วยแชร์ด้วยนะคะ