วันสุขภาพจิตโลก จะช่วยกันอย่างไรให้การฆ่าตัวตายลดลง

ช่วยแชร์ด้วยนะคะ

สุขภาพจิตโลก ความคิดอยากฆ่าตัวตายนั้นเป็นความคิดอัตโนมัติป่วยด้านจิตใจ เมื่อรักษาดีขึ้นผู้ป่วยจะพบว่าความคิดและความรู้สึกอยากฆ่าตัวตายนั้นมันหายไปได้จริงๆ

        นายณัฐวัฒน์  ราชประสิทธิ์ ผู้ประสานงานเครือข่ายสื่อมวลชนสุขภาพจิตจังหวัดอุตรดิตถ์ เปิดเผยว่า ปัจจุบันปัญหาการฆ่าตัวตายนับว่าทวีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น ซึ่งถือว่าเป็นตัวเลขที่น่าตกใจในสถานการณ์ปัจจุบัน สาเหตุมาจากสภาวะ ความเครียด เมื่อมีความเครียดเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆจะก้าวไปสู่สภาวะโรคซึมเศร้า  จนในที่สุดจนถึงการคิดสั้นในการฆ่าตัวตาย วันนี้จึงขอเชิญชวนทุกท่านร่วมกัน เพราะในวันที่ 10 ตุลาคมของทุกปีเป็นวันสุขภาพจิตโลกปีนี้เชิญชวนให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการป้องกันการฆ่าตัวตาย จากสถิติขององค์การอนามัยโลกในปี 2019 พบว่าทุกๆ 40 วินาทีจะมีคนฆ่าตัวตายสำเร็จ 1 คนจากทั่วโลกนั่นคือเฉลี่ยประมาณปีละประมาณ 800,000 คนและสำหรับประเทศไทยนั้นกรมสุขภาพจิตรายงานว่ามีผู้ฆ่าตัวตายสำเร็จปีละประมาณ 4 พันกว่าคน นั่นหมายความว่าวันละประมาณ 12 คน นับว่าเป็นการสูญเสียชีวิตของมนุษย์ที่น่าเสียดายเป็นอย่างยิ่งเพราะชีวิตทุกๆคนนั้นมีคุณค่าและมีความหมายอยู่ในตนเองเสมอ

        บ่อยครั้งที่ผู้เขียนได้รับโทรศัพท์เพื่อสอบถามว่าคนใกล้ชิดของเขาบอกว่าไม่อยากมีชีวิตอยู่แล้วอยากตายและสื่อสารทำนองสั่งลาหลายรูปแบบผู้เขียนก็จะบอกไปว่าให้เข้าไปสอบถามพูดคุย กับเขาด้วยสีหน้าท่าทางที่สุภาพและเป็นมิตรและถามเขาไปเลยว่าเขามีความรู้สึกอยากทำร้ายตัวเองเช่นไรและเพราะเหตุใดจึงรู้สึกเช่นนั้น การถามเช่นนี้มิใช่การชี้โพรงให้กระรอกแต่เป็นการใส่ใจเขาต่างหากคนที่ได้รับการใส่ใจจะรู้สึกดีและบอกอาการของเขาที่เป็นอยู่ให้เราฟัง

        จากนั้นโปรดตั้งใจรับฟังผู้ที่มีความคิดอยากฆ่าตัวตาย ด้วยการเปิดโอกาสให้เขาได้เล่าระบายความรู้สึกนึกคิดต่างๆออกมา ฟังอย่างตั้งใจและใส่ใจ อย่าตำหนิติเตียนและประเมินใดๆต่อเขา ให้ฟังฟังฟังด้วยหัวใจจริงๆเมื่อเขาเล่าระบายความรู้สึกออกมาจนหมดก็เพิ่งแสดงความเข้าใจและเห็นใจต่อเขาเช่นด้วยการพูดว่า ผมเข้าใจและเห็นใจคุณมาก หากแม้นเป็นใครที่เจอเหตุการณ์เช่นคุณก็คงรู้สึกไม่ต่างไปจากคุณเช่นกันจากนั้นอธิบายเขาฟังว่าความคิดอยากฆ่าตัวตายนั้นไม่ใช่การเสแสร้งและไม่ใช่การอ่อนแอแต่เป็นการป่วยทางด้านจิตใจและสารเคมีในสมองไม่สมดุลกันทั้งให้รีบชวนเขามาพบหมอทันทีห้ามปล่อยปละละเลยไว้เด็ดขาด

        การที่ผู้เขียนย้ำว่าให้รีบชวนเขาไปพบหมอทันทีห้ามปล่อยปละละเลยไว้เด็ดขาดนั้น ก็ด้วยให้ความสำคัญในประเด็นนี้นั้นเอง แต่ที่ให้รีบพาไปพบหมอโดยฉับพลันเมื่อพบผู้ที่มีความคิดอยากฆ่าตัวตายนั้นก็เนื่องจากงานวิจัยและประสบการณ์ของผู้เขียนเองที่ทำงานอยู่ในวงการสุขภาพจิตมาประมาณ 30 ปีนั้นมักจะมีการประชุมและสัมมนากรณีที่มีผู้ฆ่าตัวตายสำเร็จเชิงสืบสวนถึงสาเหตุและเงื่อนไขปัจจัยต่างๆที่สัมพันธ์กับการฆ่าตัวตายสำเร็จดังกล่าวพบว่าสาเหตุหนึ่งเกิดจากการช่วยเหลือที่ล่าช้านั้นเอง

        เหตุที่ช่วยเหลือล่าช้า ก็ด้วยขาดความตระหนักรู้และไม่เข้าใจว่าผู้ที่คิดอยากฆ่าตัวตายนั้นเป็นการเจ็บป่วยด้านจิตใจมิใช่การเสแสร้งแกล้งทำและไม่ใช่เขาเหล่านั้นเป็นคนอ่อนแอแต่คนเหล่านั้นป่วยต่างหากการช่วยเหลืออย่างล่าช้ามักจะมาจากความคิดที่ว่าคนจะฆ่าตัวตายนั้น เสแสร้ง แกล้งพูดและเป็นคนอ่อนแอและพูดเพื่อเรียกร้องความสนใจ เขาคงไม่คิดคำจริง การคิดเช่นนี้จึงนำมาสู่การปล่อยปละละเลย และไม่นำไปหาหมออย่างฉับพลันทันใดกว่าจะพบอีกทีเขาก็ฆ่าตัวตายสำเร็จไปแล้ว

        การช่วยเหลือล่าช้านั้นพบว่าล่าช้าจากหลายขั้นตอนเช่น ล่าช้าตั้งแต่ในครอบครัวเช่นเมื่อได้ยินใครบ่นว่าอยากฆ่าตัวตายและไม่อยากมีชีวิตอยู่แล้วก็ไม่ใส่ใจในคำพูดเหล่านั้น หรือเฝ้าดูกันเองจริงล่าช้าที่จะนำไปหาหมอทรงพลให้ล่าช้าที่จะรับการรักษาอย่างฉับไว และผู้ป่วยบางรายที่มีความคิดอยากฆ่าตัวตายอย่างรุนแรงจำเป็นต้องได้รับการรักษาแบบผู้ป่วยในโดยให้นอนรักษาตัวที่โรงพยาบาลที่มีทีมงานรักษาพยาบาลดูแลอย่างใกล้ชิดตลอด 24 ชั่วโมงแต่ผู้ป่วยและญาติบางรายไม่ยินยอมตอนโรงพยาบาลและอ้างว่าจะดูแลกันเองที่บ้านพักเมื่อนำผู้ป่วยกลับไปบ้านและขาดการดูแลอย่างใกล้ชิดตลอดเวลาจึงถ้าถ้าทำให้ญาติที่มีความคิดอยากฆ่าตัวตายนั้นฆ่าตัวตายได้สำเร็จเหล่านี้ล้วนเกิดจากความล่าช้าและละเลยนั้นเอง

        จะทำอย่างไรให้การช่วยเหลือรวดเร็วสิ่งแรกเลยคือทุกคนต้องตระหนักว่าคนที่คิดอยากฆ่าตัวตายนั้นเป็นการป่วยด้านอารมณ์และจิตใจ ต้องไลค์อคติต่อการเจ็บป่วยเหล่านี้ต้องมองเห็นเป็นการเจ็บป่วย เช่นกัน เช่นการปวดหัวปวดท้องนั้นเอง นั่นหมายความว่าเมื่อรู้ตัวว่าตนเองจิตใจเศร้าหมองหดหู่และมีความคิดอยากฆ่าตัวตายให้รีบบอกคนใกล้ชิดและพากันไปหาหมอทันทีและเมื่อบอกเขาแล้วก็ยังไม่มีใครพาไปหาหมอก็ให้รีบไปหาหมอด้วยตนเองทันทีที่โรงพยาบาลใกล้บ้านขอย้ำว่าให้ไปทันทีเพราะหากละเลยไว้ความคิดอยากฆ่าตัวตายนั้นจะรุนแรงยิ่งขึ้น

        ผู้ที่มีความคิดอยากฆ่าตัวตายหลายรายทั้งผู้ป่วยที่เคยมารับการรักษาที่โรงพยาบาลเมื่อหายจากความคิดอยากฆ่าตัวตายและปรับตัวปรับใจได้แล้วมักจะกลับมาขอบคุณผู้ที่ให้ความช่วยเหลือและนำพาเขาไปส่งโรงพยาบาลเสมอ นั่นเพราะเขาได้ตรงหนักว่าความคิดอยากฆ่าตัวตายนั้นเป็นความคิดอัตโนมัติซึ่งเกิดขึ้นโดยที่เขาควบคุมไม่ได้ และเป็นการป่วยด้านจิตใจจริงๆ เมื่อรักษาดีขึ้นแล้วผู้ป่วยจะพบว่าความคิดและความรู้สึกอยากฆ่าตัวตายนั้นมันหายไปได้จริงๆ

        ผู้เขียน เขียนบทความทำรายการวิทยุและรายการโทรทัศน์มากว่า 20 ปีซึ่งรณรงค์ป้องกันการฆ่าตัวตายด้วยการบอกสาเหตุวิธีการป้องกันแก้ไขและบำบัดรักษาต่างๆมามากมายจนนับครั้งไม่ถ้วน แต่ในบทความนี้จะไม่พูดถึงสิ่งเหล่านั้นเลยจะย้ำเพียงแต่ว่าเมื่อได้ยินใครสื่อสารว่าอยากฆ่าตัวตายและส่งสัญญาณทำนองสั่งเสียฝากฝังและสั่งลาก็ให้รีบพาไปหาหมอโดยเร็วพลันขอย้ำว่าไปหาหมอโดยเร็วพลันเพราะจากสถิติดังที่ได้กล่าวมาแล้วว่า ผู้ที่ฆ่าตัวตายสำเร็จจำนวนไม่น้อยนั้น เกิดจากการช่วยเหลือล่าช้าฉะนั้นวิธีแก้ไขคือต้องไม่ล่าช้าให้รีบพาไปหาหมออย่างฉับไวจึงจะช่วยได้อย่างรวดเร็วที่สุดและหากจะถามว่าจากคำขวัญ วันสุขภาพจิตโลกปีนี้ที่ว่า working Together To prevent suicide( มาช่วยกันป้องกันการฆ่าตัวตายกันเถิด) นั้น เราจะมีวิธีช่วยกันป้องกันอย่างง่ายๆได้อย่างไรคำตอบก็คือช่วยกันค้นหาผู้ที่สื่อสารว่า อยากฆ่าตัวตายพร้อมทั้งสั่งเสียและฝากฝัง รวมทั้งสั่งลาให้พบโดยเร็วเมื่อพบแล้วก็ให้รีบพากันไปหาหมออย่างฉับพลันทันทีนั่นเองเชื่อว่าหากทุกคนทำได้เช่นนี้จะช่วยลดอัตราการฆ่าตัวตายได้มากยิ่งขึ้นในที่สุด

  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ดรวุฒิพงศ์   ถายะพิงค์
  • นักส่งเสริมสุขภาพจิตด้านสหศาสตร์และที่ปรึกษาด้านการประชาสัมพันธ์โรงพยาบาลสวนปรุง(บทความ)
  • ณัฐวัฒน์  ราชประสิทธิ์ ผู้ประสานงานเครือข่ายสื่อมวลชนสุขภาพจิตจังหวัดอุตรดิตถ์ เผยแพร่

ช่วยแชร์ด้วยนะคะ