5 เอฟเฟคของกัญชากับการนอน Endocannabinoid system

ช่วยแชร์ด้วยนะคะ

สมองและกระตุ้นการทำงานของ Endocannabinoid system การทำงานของระบบตัวรับสารในร่างกายที่สามารถรับสารจากกัญชาได้

เป็นเรื่องธรรมดามากสำหรับผู้ใช้กัญชาที่มักจะใช้ช่วงก่อนนอน เพราะจะทำให้ผ่อนคลายและหลับสบาย นั่นเป็นเพราะสาร Cannabinoids ในกัญชาไปเลียนแบบการทำงานของสารเคมีธรรมชาติในสมองและกระตุ้นการทำงานของ Endocannabinoid system (การทำงานของระบบตัวรับสารในร่างกายที่สามารถรับสารจากกัญชาได้) ซึ่งมีส่วนสำคัญในการนอนหลับของเรา

5 เอฟเฟคสำคัญของกัญชากับการนอนหลับของเรา

  1. ช่วยให้หลับง่ายขึ้น จากการศึกษาทดลองใช้ THC ในกัญชากับกลุ่มผู้ป่วยที่เป็นโรคนอนไม่หลับ (insomnia) ได้ผลการทดลองที่น่าประทับใจว่าผู้ที่ป่วยเป็นโรคนอนไม่หลับสามารถนอนหลับได้เร็วขึ้น 1 ชั่วโมง โดยเฉลี่ย
  1. หลับได้นานขึ้น การได้รับ THC หรือ CBD ก่อนนอนจะช่วยให้หลับได้นานขึ้นและลดอัตราการตื่นขึ้นมากลางดึกอีกด้วย แต่การได้รับ THC มากเกิดไปมักทำให้เกิดอาการ Hang Over ได้
  1. หลับได้ลึกขึ้น ผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่า THC สามารถเพิ่ม slow-wave sleep หรือคลื่นที่บ่งบอกถึงการหลับลึก ซึ่งการหลับลึกจะส่งผลดีต่อร่างกายเป็นอย่างมากในกระบวนการฟื้นฟูร่างกายในเวลาหลับ ทางการแพทย์เชื่อว่าการพักผ่อนไม่เพียงพอที่มีสาเหตุมาจากการขาด slow-wave sleep เป็นสาเหตุของการเกิดโรคความดันโลหิตสูงในผู้สูงอายุ
  1. ลดการเกิด REM Sleep (Rapid Eye Movement) REM Sleep เป็นช่วงเวลาที่ร่างกายหลับแต่มีการทำงานของสมอง และกระจายไปทั่วทั้งสมอง (Generalized Heightened Brain Activity) มีการกรอกของลูกตาโดยกล้ามเนื้อตาอย่างแรงเป็นระยะๆ (Periodic Intense Eye Movement) และจะเกิดความฝัน จากการศึกษาพบว่า คนที่ใช้กัญชาก่อนนอนมักจะไม่เกิดความฝัน ซึ่งจะเกิดในช่วง REM Sleep เท่านั้น นักวิทยาศาสตร์ชี้ว่านี่อาจเป็นผลดีหรือผลลบของการใช้กัญชาก่อนนอนก็เป็นได้เพราะ วิทยาศาสตร์ยังไม่ทราบว่าวัตถุประสงค์ของการทำงานที่แท้จริงของ REM Sleep คืออะไร
  1. ช่วยให้หายใจได้ดีขึ้น จากการศึกษาของ University of Illinois การใช้กัญชาสามารถทำให้หลอดลมขยายและหายใจได้ดีขึ้นซึ่งอาจจะสามารถใช้กับผู้ป่วยที่เป็นโรค Sleep Apnea ได้ Sleep Apnea เป็นภาวะที่มีการหยุดหายใจเป็นระยะๆหรือมีการหายใจตื้นๆสลับกับการหายใจที่เป็นปกติในระหว่างที่นอนหลับ ซึ่งช่วงการหยุดหายใจดังกล่าวอาจเป็นเพียงไม่กี่วินาทีหรืออาจยาวเป็นนาทีก็ได้ ส่งผลให้นอนหลับได้ไม่เต็มที่ และมีอาการง่วงมากผิดปกติในช่วงระหว่างวันตามมา ซึ่งการรักษาปัจจุบันจะใช้การสวมหน้ากากออกซิเจนเวลานอน

ข้อมูลจาก กัญชาชน

ติดตามเนื้อหาดีๆแบบนี้ได้ที่ :


ช่วยแชร์ด้วยนะคะ