HOW TO : ภาวะต่อมหมวกไตล้า โรคยุคใหม่ของคนทำงาน
HOW TO การทำงานไม่มีประสิทธิภาพ บางคนก็อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนตามมา ไม่ว่าจะเป็นอาการเส้นยึด สะบักเอย หลังเอย กล้ามเนื้อเอย ตามตัว บางรายอาจทำให้มีภาวะซึมเศร้า
ตื่นเช้าก็ยาก, ตอนกลางวันก็ง่วง, ตอนดึก ๆ หลัง 18.00 เริ่มคึกคัก, ท้องอืดบ่อย, อาหารไม่ค่อยย่อย, ปวดประจำเดือนผิดปกติ, ปัสสาวะบ่อยเกินไป หรือเครียดง่าย อารมณ์แปรปรวน หากคุณมีอาการเหล่านี้เกิน 5 อย่าง อาจสงสัยได้ว่าคุณเป็น “ภาวะต่อมหมวกไตล้า” ไม่ใช่เพราะคุณขี้เกียจแต่อย่างใด
“ภาวะต่อมหมวกไตล้า” เป็นอาการผิดปกติของร่างกายอย่างหนึ่งซึ่งเกิดจากการขาดสมดุลฮอร์โมนกลุ่มต่าง ๆ ที่ผลิตจากต่อมหมวกไต แต่ยังไม่ถึงขั้นเป็น “โรคพร่องต่อมหมวกไต” ซึ่งถ้าอยู่ในภาวะต่อมหมวกไตล้านาน ๆ เข้า จะสามารถส่งผลกระทบต่อชีวิตการทำงานได้ เพราะทำให้การทำงานไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร และในบางคนก็อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนตามมา ไม่ว่าจะเป็นอาการเส้นยึด มีอาการปวดตามจุดต่าง ๆ สะบักเอย หลังเอย กล้ามเนื้อเอย ตามตัว บางรายอาจทำให้มีภาวะซึมเศร้าเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย
ซึ่งภาวะต่อมหมวกไตล้านี้เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ แต่โดยรวมเกิดขึ้นจากการใช้ชีวิตประจำวันที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพ ไม่ว่าจะเป็น การทำงานหนัก พักผ่อนน้อย รับประทานอาหารที่ไม่เหมาะสม เช่น ไม่ทานข้าวเช้า, ทานข้าวไม่เป็นเวลา, ทานอาหารประเภทของทอด, ของมัน และน้ำตาลเยอะเกินไป และ ความเครียดจากเรื่องราวต่าง ๆ ในชีวิตที่ส่งผลกระทบ ไม่ว่าจะเป็นเครียดจากที่ทำงาน หรือเครียดจากการเจ็บปวด ซึ่งทั้งหมดนี้ล้วนแต่ส่งผลเสียต่อสุขภาพกายและใจในระยะยาว หากใครที่คิดว่าตัวเองเข้าค่ายในการเป็นภาวะต่อมหมวกไตล้า แล้วกังวลว่าต้องไปหาหมอหรือไม่ อาจจะไม่จำเป็นเสมอไป แต่ให้ลองปรับเปลี่ยนพฤติกรรมชีวิตประจำวันของตัวเองดังต่อไปนี้ดูก่อนว่าดีขึ้นหรือไม่ หากไม่ดีขึ้นแล้วจึงค่อยไปปรึกษาแพทย์ก็ได้.
1.ลดความเครียด พูดง่ายแต่ทำยาก! หลายคนอาจจะบอกมาแบบนี้ แต่เชื่อเถอะว่า มีหลายวิธีที่ทำให้ความเครียดของเราลดลง ไม่ว่าจะเป็นการออกกำลังกาย, นั่งสมาธิ การปล่อยวางตัวเองก็ถือว่าเป็นการลดความเครียดได้ด้วยเช่นกัน หรือจะไปท่องเที่ยวสักพักก็ยังไหว ตราบใดที่การท่องเที่ยวนั้นไม่ได้สร้างภาระอื่น ๆ ให้กับตัวเองเพิ่ม
2.นอนหลับพักผ่อน อย่างน้อย 6 ชั่วโมงต่อวัน และไม่ควรเข้านอนหลังเที่ยงคืน! เพราะในช่วงเวลา 4 ทุ่ม – ตี2 เป็นช่วงที่ Growth Hormones หลั่ง ทำให้ร่างกายได้พักผ่อนและซ่อมแซมตัวเองอย่างแท้จริง
3.ออกกำลังกาย การออกกำลังกายแบบปานกลาง (Moderate intensity exercise) เช่น พวกการ วิ่ง Jogging เดินเร็ว เต้นแอโรบิค ปั่นจักรยาน ที่พอเหงื่อซึม ๆ หายใจเร็วขึ้น หัวใจเต้นเร็วขึ้น โดยที่อัตราการเต้นหัวใจอยู่ที่ 50-70 % ของอัตราการเต้นสูงสุด
4.รับประทานอาหารที่ดี เปลี่ยนวิธีทานอาหาร ทานอาหารที่มีโปรตีน ลดอาหารจำพวกแป้ง พวกข้าวขัดขาวทั้งหลาย และน้ำตาล ทานสารอาหารหรือวิตามินที่ไปเสริมการทำงานของต่อมหมวกไต วิตามินในกลุ่ม DHA, VITAMIN C, VITAMIN B สมุนไพรที่สกัดจากชะเอม หรือเห็ดหลินจือ ที่ช่วยเสริมสร้างการทำงานของต่อมหมวกไต และอย่าลืมทานอาหารเช้าด้วย!
ขอขอบคุณข้อมูล : ธรรมชาติบำบัด
ติดตามเนื้อหาดีๆ แบบนี้ได้ที่ :