#ไม่เหมาะที่จะใช้เสียง 2 เสียง 3 กับผู้สูงอายุ
-“คุณป้า ช่วยเซนต์เอกสารตรงนี้หน่อยนะคะ”
“ว่าอะไรนะ ให้ทำอะไร”
“เซนต์อนุญาตตรงนี้”
-บทสนทนาข้างบน เกิดขึ้น แบบว่า คุณป้า วัย 80+ ฟัง ไม่รู้เรื่อง หรือ ไม่ได้ยินว่าพูดอะไร … ขณะที่เพื่อนอีกคน บอกว่า เมื่อกี๊ เขา ยังเซนต์เอกสารได้เอง ทุกที่เลย .. และ ลองพูดให้คุณป้าเซนต์เอกสาร คุณป้า ก็คุย และ พูดรู้เรื่อง ถึงแม้จะต้องพูดดังหน่อย
-ที่เกิดขึ้นทั้งหมด เป็น สถานการณ์จริง .. ขณะที่ คนหนึ่งพูด คุณป้า ไม่ได้ยิน หรือ ฟังไม่รู้เรื่อง แต่ เพื่อนอีกคนหนึ่งพูด กลับพูดคุยรู้เรื่อง … ที่เป็นแบบนี้ เพราะ คนแรก เวลาพูด จะติดการพูด เสียง 2 เสียง 3 .. คือมีการพูด เสียงสูง สลับกับเสียงปกติ เป็นระยะๆ .. เป็น เสียงที่บางที เราก็ติดจากโฆษณาทีวี ดู คลิป หรือ พูดกับ เด็กเล็ก พูดกับสัตว์เลี้ยง หรือ เหมือนพยายามเน้น หรือ เรียกความสนใจ .. ทำจน ติดเป็นลักษณะการพูดปกติของคนๆนั้น
-เสียง 2 เสียง 3 จะมีลักษณะเสียงสูงกว่า ปกติ .. ซึ่งในผู้สูงอายุ จะมีภาวะที่เรียกกันว่าหูตึง คือ ฟังไม่ค่อยได้ยิน ต้องพูดเสียงดังขึ้น และที่น่าสนใจคือ เสียง ที่ได้ยินน้อยที่สุด คือ เสียงความถี่สูง หรือ เสียงแหลม จะได้ยินลดลงกว่า ปกติมากๆ .. และ ภาวะหูตึง ก็เกิดได้เมื่ออายุเยอะขึ้น พบว่า พอถึงอายุ 70 กีมีคนหูตึงมากถึง 70 % และในคนสูงอายุ เสียงสูง จะได้ยินน้อยลง ถึง 50 เดซิเบล ขณะที่ได้ยินเสียงความถี่ต่ำน้อยลง แค่ 20 เดซิเบล คือ ได้ยินเสียงสูง น้อยลง มากกว่า เท่าตัวครับ
-ดังนั้น เวลาพูดกับผู้สูงอายุ ต้องระมัดระวังตัว ไม่ใช้เสียงสูง ไม่ใช้ เสียง 2 เสียง 3 นะครับ
ขอขอบคุณข้อมูล : บันทึกเรื่องน่ารู้ by Dr.Adune
ติดตามเนื้อหาดีๆแบบนี้ได้ที่ :