เดินถอยหลังแก้ปวดหลัง-คุณเคยเดินถอยหลังจริงๆไหม
เดินถอยหลังแก้ปวดหลัง แต่เป็นเรื่องจริงทางกายวิภาคและสรีรวิทยา เดินถอยหลังมันไม่เป็นธรรมชาติ มันช้า มันงุ่มง่าม แล้ว เราเดินทำไม
วันนี้ มาเล่าเรื่องที่ไม่ใช่ abstract หรือ แค่หลักคิด แต่เป็นเรื่องจริงทางกายวิภาคและสรีรวิทยาครับ …. หากลองเดินถอยหลังดู จะรู้สึกว่า มันยากเหมือนกัน แต่ไม่ใช่ทำไม่ได้ ต้องตั้งใจ ตั้งสติ ยกเท้า ก้าว ถ่ายน้ำหนัก และ ยังต้องคอยเหลียวดูข้างหลัง (ผมเคยเดินถอยหลังจนชนรถที่จอดเอาไว้) … เดินถอยหลัง มันไม่เป็นธรรมชาติ มันช้า มันงุ่มง่าม แล้ว เราเดินทำไม
-ธรรมชาติ สร้างร่างกายเราให้เดินไปข้างหน้าครับ ช้อสะโพก ข้อเข่า ข้อเท้า พับไปทางเดียว เช่น ข้อเข่าพับไปข้างหลัง เหยียดไปข้างหน้าได้ไม่เกิน 180 องศา ถ้าไปไกลกว่านั้นต้องใช้ข้อสะโพกช่วยทำแทนครับ ตาของเราก็มีไว้มองไปข้างหน้า คอเราก็บังคับตาให้มองไปข้างหน้า … แล้วเดินถอยหลัง ได้อะไร ทำให้แก้ปวดหลังได้จริงหรือครับ
-เวลาเราเดินไปข้างหน้า กล้ามเนื้อต่างๆ ของร่างกายตั้งแต่ ศีรษะ จรดเท้าต้องช่วยกันทำงานครับ เพราะทุกๆครั้งที่ยกเท้าขึ้นพ้นพื้น เท้าอีกข้างหนึ่ง ลำตัว หัวไหล่ ต้อง พยุงให้เราทรงตัวได้ไม่ล้มลง ก่อนที่จะรอให้เท้าที่ยกพ้นพื้นไปรับน้ำหนัก และ ทำหน้าที่แทน การเดินจึงไม่ใช่เพียงแค่การทำงานของ เข่า ต้นขา และ เท้า แต่เป็นการทำงานประสานกันทั้งร่างกาย … แต่ในภาวะปกติ ที่ถูก โปรแกรมให้ทำซ้ำๆ กัน ทุกวันๆ กล้ามเนื้อมัดหลักๆ จะแข็งแรง และ พาร่างกายให้เคลื่อนที่ไปได้ แต่ กล้ามเนื้อมัดเล็กๆ ที่อยู่ตามแกนของลำตัว ก็แค่ประคอง ให้มีการทรงตัวอยู่ได้ คอย ติดตาม และ พยุงตาม … หลายครั้ง เวลาเราเดิน หรือทำกิจกรรม กล้ามเนื้อใหญ่ ก็ไม่ได้รอจังหวะให้กล้ามเนื้อเล็กพร้อม ขยับไปก่อนเลย กล้ามเนื้อเล็กๆ ก็ถูกลากไป และ เกิดการบาดเจ็บ โดยที่กล้ามเนื้อใหญ่ที่ใช้ในการเดินไม่ได้ใส่ใจ หรือ ลืมสนใจ … การบาดเจ็บนี้ กล้ามเนื้อเล็ก ก็ทนเอา จนกระทั่งวันหนึ่ง ทนไม่ไหว ไม่ยอมขยับ เกิดอาการเจ็บปวดทุกครั้งที่ขยับ เราจึงเพิ่งตระหนักว่า ปวดหลัง ปวดเอว
-ไม่ใช่ความผิดของกล้ามเนื้อใหญ่นะครับ แต่ เป็นการประสานงานที่ไม่สมบูรณ์ ดังนั้น ร่างกายเราจึงต้องการการบริหาร การบริหาร คือการซ้อมการประสานงาน สามารถซ้อมไป ทำงานไป (on the job training) กล้ามเนื้อมัดใหญ่ มัดเล็ก ล้วนมีความสำคัญ และ สามารถ ช่วยกันทำงานได้ครับ แต่ต้องการการซ้อม การประสานงาน การเดินไปข้างหน้าตามปกติ แบบเร็วๆ บางครั้ง ก็ลืมดูกัน ดังนั้น การเดินถอยหลัง เป็นการย้อนจังหวะการทำงานทุกอย่าง ที่ไม่คุ้นเคย ทำให้ มีเวลาที่กล้ามเนื้อมัดต่างๆ จะได้เรียนรู้ว่า กล้ามเนื้อมัดอื่น เขาทำอะไรอยู่ ช่วยอะไรเราอยู่ เรียนการทำงานร่วมกัน … เวลาเดินถอยหลัง จะเปลี่ยนคิว การส่งมอบงาน ก่อนหน้านี้ เคยรอรับงานจากเขา ตอนนี้ กลายเป็นกล้ามเนื้อนั้นส่งมอบจังหวะให้เขาทำต่อ หรือ ในทางกลับกัน ก่อนหน้านี้ เคย สั่ง และ ส่งงานต่อให้เขา ตอนนี้ ต้องกลับมารับงานต่อจากเขา … เป็นการฝึกฝนแบบหนึ่ง ฝึกระบบประสาท และ สมองด้วยครับ ….. ในจังหวะนี้ เอง ทำให้การส่งต่องานระหว่างกล้ามเนื้อมัดใหญ่กับมัดเล็กดีขึ้น ในการเดินปกติครั้งถัดไป จะเกิดการบาดเจ็บน้อยลง การปวดหลังก็น้อยลงครับ
-ร่างการเรามหัศจรรย์ เรามีเรื่องที่เรียนรู้จากร่างกายเราได้มากมายเลยครับ … แม้แต่ในชิวิตการทำงาน การลองเปลี่ยนบทบาทกันบ้าง จะทำให้เราเข้าใจกันและกันได้ดีขึ้นครับ
ขอขอบคุณข้อมูล : บันทึกเรื่องน่ารู้ by Dr.Adune
ติดตามเนื้อหาดีๆแบบนี้ได้ที่ :